26 สิงหาคม 2554

สุโขทัยระทม น้ำท่วมซ้ำซากรอบที่ 6




ชาวสุโขทัย สุดระทม น้ำยมทะลักท่วมซ้ำซากเป็นรอบที่ 6 ในปีนี้ ถนนสายหลักถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร หลายพื้นที่เดือดร้อนหนัก...

หลังจากที่เกิดสถานการณ์ น้ำท่วม ในพื้นที่ จ.สุโขทัย เป็นรอบที่ 6 ตั้งแต่วันที่ 21 สค.เป็นต้นมา ส่งผลทำให้ หลายพื้นที่ ในเขต อ.เมือง จมอยู่ใต้น้ำได้รับความเดือดร้อนอีกครั้ง โดยเฉพาะ ในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี กระแสน้ำซึ่งทะลักออกมาจากแม่น้ำยม รวมกับน้ำที่ล้นออกจากสปินเวย์ ภายในอ่างกักเก็บน้ำขนาดยักษ์ ทุ่งทะเลหลวง ต.บ้านกล้วย ได้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในชุมชนคลองโพธิ์ ชุมชนคูหาสุวรรณ ชุมชนราชธานี และ ชุมชนวังหิน ได้รับความเสียหายหนัก ถนนจรดวิถีถ่อง ตั้งแต่ เชิงสะพานพระร่วง ฝั่งตะวันตก ต.ธานี เรื่อยไปจนถึง สี่แยกคลองโพธิ์ ต.บ้านกล้วย ระยะทางยาวกว่า 3 กม. ก็ถูกน้ำไหลทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว ทำให้ มีน้ำท่วมขังบนถนน สูงประมาณ 30 ซม.-50 ซม.
ทางหลวงหมายเลข 12 (สุโขทัย-ตาก) ต.บ้านกล้วย อ.เมือง เส้นทางจาก สี่แยกคลองโพธิ์ มุ่งหน้า จ.ตาก มีระดับน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร เป็นระยะทางกว่า 5 กม. เนื่องจาก ปริมาณน้ำจำนวนมหาศาล ที่ไหลทะลักออกมาจากคลองแม่รำพัน ต.บ้านกล้วย ทำให้ โรงพยาบาลสุโขทัย และ โรงพยาบาลรวมแพทย์ ที่ตั้งอยู่บนถนนสายนี้ ต้องเสี่ยงต่อการถูกน้ำทะลักเข้าท่วม เจ้าหน้าที่ต้องนำกระสอบทราย มาวางเสริมเป็นแนวยาว เป็นการป้องกัน

นอกจากนี้ สถานศึกษาหลายแห่ง อาทิ เช่น วิทยาลัยสารพัดช่าง โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม โรงเรียนบ้านสนามบิน และ วิทยาลัยนาฎศิลป์สุโขทัย ก็ต้องปิดเรียนอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 25-28 สค. นี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เคยปิดมาแล้ว 1 อาทิตย์ เพื่อรอดูสถานการณ์น้ำ ชาวบ้านในพื้นที่ถูกน้ำท่วม ต้องอาศัย รถรับ-ส่ง ของ อบจ.สุโขทัย และ หน่วยงานอื่นๆ ที่มาคอยอำนวยความสะดวก

สำหรับผู้ที่จะเดินทางไป จ.ตาก ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้แนะนำให้ไปใช้ ถนนสายบ้านคลองยาง ม.13 ต.บ้านกล้วย แทน เนื่องจาก เส้นทางเดิม มีน้ำท่วมขังระดับสูง รถเล็ก ไม่สามารถวิ่งผ่านไปมาได้

ล่าสุด มีรายงานว่า เกิดรอยแยกเป็นบริเวณกว้าง บริเวณสะพานข้ามคลองแม่รำพัน หน้าวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย ม.5 ต.บ้านกล้วย เนื่องจากมีกระแสน้ำค่อนข้างแรง ไหลกระแทกและกัดเซาะพื้นผิวสะพานต่อเนื่อง เกรงจะเกิดการทรุดตัว เป็นอันตราย จึงควรเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น เช่น ถนนสายบ้านสนามบิน หรือ ถนนอาษานุสรณ์ หน้าสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย แทน



อย่างไรก็ดี ในเวลา 13.00น. วันนี้ (25 ส.ค.) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภา ทรงโปรดให้ ดร.อาทร จันทร์วิมล ประธานฝ่ายส่งเสริมกิจกรรม มูลนิธิอาสา เพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เป็นผู้แทนพระองค์ มอบถุงยังชีพ จำนวน 2,041 ถุง ให้แก่ผู้ประสพภัยน้ำท่วมที่ วัดวังทอง ต.วังทอง อ.ศรีสำโรง พร้อมพันธุ์ปลานิล อีก 50,000 ตัว

โดยมี นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผวจ.สุโขทัย ให้การต้อนรับ ซึ่งถุงยังชีพนี้ จะประกอบไปด้วย ข้าวสาร อาหารกระป๋อง เครื่องปรุง พร้อมของจำเป็นในการดำรงชีพพอเพียงใน 1 สัปดาห์ โดยกล่าวว่า ทั้งสองพระองค์ ทรงห่วงใยราษฎรที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับน้ำในเวลาที่ยาวนาน โดยปรับความช่วยเหลือจากเร่งด่วนในการปรุงอาหารสำเร็จ มาเป็นชุดยังชีพ เพื่อให้ทุกครอบครัว มีสิ่งของเตรียมพร้อม รับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง



อีกทั้ง ยังเป็นการนำร่องให้ชาวสุโขทัย รู้จักวิธีการใช้ชีวิตอยู่กับสภาวะน้ำท่วม โดยการนำผ้าพลาสติกมาตัดเป็นสี่เหลี่ยม ผูกกับไม้ทั้ง 4 ด้าน เจาะรูตรงกลางผ้า แล้วนำฝาขวดที่ตัดแล้วมาห่อผ้ามุ้ง เพื่อเป็นการกรองผง และขยะในเบื้องต้น จากนั้นนำสายยางให้เท่ากับฝาขวดมาต่อกันเพื่อให้น้ำฝนที่จะรองรับสามารถกักเก็บได้ในภาชนะที่เตรียมไว้ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถใช้กับชีวิตประจำวัน อีกทั้งได้นำตัวอย่างที่ประกอบแล้วแจกจ่ายให้ตัวแทนแต่ละหมู่บ้านนำกลับไปใช้งานด้วย

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/region/196866

ปัญหาการทำลายป่าชายเลน








พื้นที่ป่าชายเลนได้ลดลงอย่างมากจนเป็นที่น่าวิตก เนื่องจากการบุกรุกทำลายโดยการเปลี่ยนสภาพ
พื้นที่ป่าชายเลนไปทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือนำมาใช้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ชายฝั่ง (นากุ้ง) นอกจากนี้ก็ใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ท่าเทียบเรือถนน เหมืองแร่ การเกษตร เป็นต้น ทำให้พื้นที่ป่าชายเลน
ลดลงตลอดเวลา จนทำให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศ อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัย การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง
การกัดเซาะและการพังทลายของที่ดินบริเวณชายฝั่ง และคุณภาพน้ำชายฝั่ง เป็นต้น





เปรียบเทียบป่าชายเลนกับชีวิต
ป่าชายเลน ขุมทรัพย์แห่งท้องทะเล

ป่าชายเลน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเล

ป่าชายเลน เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำนานาชนิดที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
สังคมและเศรษฐกิจของประเทศอย่างมหาศาล

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนบ้าน

ป่าชายเลน เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด สัตว์น้ำตัวเล็กๆ ต้องอาศัยระบบรากที่ซับซ้อนของพืชป่าชายเลนสำหรับวางไข่
อนุบาลตัวอ่อนและหลบภัย ลิงแสมที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนก็ได้จับปู ปลา เป็นอาหาร

ดังนั้นการทำลายป่าชายเลน จึงเท่ากับเป็นการทำลายบ้านที่เป็นแหล่งอาหาร
ของสัตว์มากมาย


ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงครัว
ยามน้ำขึ้น ป่าชายเลนจะมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ด้วยฝูงปลาหลากหลายชนิดต่างพากันออกมา
หากินบนพื้นผิวป่าชายเลน ใบไม้ในป่าชายเลนที่ร่วงหล่น จะสลายตัวกลายเป็นธาตุอาหารอันอุดมสมบูรณ์
สำหรับการดำรงอยู่ของสัตว์น้ำนานาชนิด เพื่อเติบโตกลายเป็นอาหารอันโอชะของมนุษย์ต่อไป

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงไม้
ระบบนิเวศของป่าชายเลนถูกกำหนดด้วยการขึ้นลงของน้ำทะเลชาวบ้านจะช่วยกันปลูกป่า
เพื่อนำต้นไม้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและหารายได้เลี้ยงครอบครัว
เช่น เผาไม้โกงกางเพื่อทำเป็นฟืนและถ่านที่มีคุณภาพดี
ใช้ไม้สร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องมือทำประมง เป็นต้น

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงยา
วิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ป่าชายเลน
ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้จากรากเหง้าแห่งภูมิปัญญาการรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นต่อไป
ด้วยคุณค่าทางสมุนไพรของพันธุ์ไม้เกือบทุกชนิดในป่าชายเลน อาทิ เหงือกปลาหมอดอกม่วง
มีสรรพคุณแก้โรคมะเร็ง โรคหืดหอบ วัณโรค และอัมพาต เป็นต้น

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงบำบัดน้ำเสีย
รากที่สลับซับซ้อนและหนาแน่นคล้าย "ตะแกรง" ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน มีศักยภาพสูง
ในการดูดซับสารพิษ และเก็บกักตะกอน กลั่นกรองขยะ สิ่งปฏิกูลของเสียต่างๆ ที่มาจากพื้นบก
อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เป็นการลดมลภาวะทางน้ำ ส่งผลให้น้ำใสสะอาด

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงฟอกอากาศ
ท่ามกลางสังคมเมืองที่แออัดทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศเพิ่มขึ้นหลายคนไขว่คว้า
หาอากาศบริสุทธิ์ป่าชายเลนจึงเป็นสวรรค์สำหรับคนเมือง เพราะช่วยฟอกอากาศ
สร้างความสดชื่นแก่ทุกคน ท่ามกลางกระแสน้ำขึ้นน้ำลงความโดดเด่นงดงามอย่างมหัศจรรย์
ของพันธุ์ไม้และเสียงกู่ร้องบรรเลงของสัตว์นานาชนิด

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงเรียนธรรมชาติ
การศึกษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของป่าชายเลน
เปรียบเสมือนได้ท่องสำรวจในห้องสมุดขนาดใหญ่องค์ประกอบและเรื่องราวสรรพสิ่งต่างๆ
ในป่าชายเลน ล้วนมีคุณค่าควรแก่การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับระบบนิเวศชายฝั่งซึ่งเป็นต้นกำเนิด
อาหารโปรตีนที่สำคัญของโลก รวมทั้งวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อยู่ร่วมกับป่าชายเลนได้อย่างมีความสุข

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนกำแพงธรรมชาติ
รากของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่โผล่ขึ้นมาแผ่กว้างเหนือดิน และหยั่งลึกลงใต้ดิน
ช่วยยึดเกาะดินไว้ไม่ให้พังทลาย ป่าชายเลนที่ขึ้นเป็นแนวเขตบริเวณชายฝั่งทะเล
จึงทำหน้าที่เหมือนเขื่อนหรือกำแพงธรรมชาติที่คอยปะทะพายุและคลื่นลมทะเล
ช่วยปกป้องบ้านเรือนและทรัพย์สินของมนุษย์ไม่ให้เสียหาย

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำ
ชาวประมงส่วนใหญ่เริ่มต้นกิจวัตรประจำวันด้วยการเก็บเกี่ยวทรัพยากรจากป่าชายเลน
ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปู ปลา หรือสัตว์น้ำอื่นๆ พวกเขาสำนึกในคุณค่าของป่าชายเลนว่าเป็น
โรงผลิตอาหารทะเลหรืออู่ข้าวอู่น้ำ ทำให้พวกเขามีอาหารดีๆ รับประทาน และแบ่งขาย
ได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องลงทุน

ป่าชายเลนนับได้ว่ามีความสำคัญและประโยชน์มากมายมหาศาล
ซึ่งเป็นแหล่งรวมของพันธุ์พืชสัตว์น้ำและสัตว์บกนานาชนิด ดังนี้
1. ด้านป่าไม้ ไม้จากป่าชายเลนนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆกันนิยมใช้อย่างกว้างขวางในแถบภูมิภาคเอเชีย
คือ นำไม้มาเผาถ่าน ไม้ผืน ไม้เสาเข็ม และเครื่องมือด้านประมงเป็นต้น
- ใช้ทำถ่านไม้จากป่าชายเลนที่นำมาเผาถ่านส่วนใหญ่เป็นไม้โกงกางทั้งนี้เพราะถ่านที่ได้จากโครงการ
มีคุณภาพดีให้ความร้อนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับถ่านไม้ชนิดอื่นคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งคือเมื่อเผาแล้วมีปริมาณ
ขี้เถ้าต่ำมีราคาดีประเทศไทยสามารถผลิตถ่านได้โดยเฉลี่ยแล้วปีหนึ่งสามารถผลิตถ่านได้ประมาณ 263,334
ลุกบาศก์เมตรหรือคิดเป็นเงินประมาณ895ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับเขตร้อนในเอเชียนับได้ว่าประเทศไทย
ใช้ประโยชน์ไม้โกงกางในการเผาถ่านมากที่สุด
-ทำไม้ฝืน การนำไม้ป่าชายเลนมาทำผืนเพื่อหุงต้มนับว่าสำคัญมากสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชาย
ฝั่ง บริเวณชายฝั่งป่าชายเลน
นอกจากนี้บางครอบครัวอาศัยการขายไม้ฝืนจากไม้ป่าชายเลนเป็นรายได้ประจำวันอีกด้วย
-ใช้ทำไม้เสาเข็มและไม้ค้ำยัน ไม้จากป่าชายเลนที่นำมาทำเป็นเสาเข็มกันมากได้แก่ไม้ตาตุ่มและไม้โกงกาง เนื่องจากลำต้นมีลักษณะตั้งตรง
สำหรับในประเทศใกล้เคียงเช่นมาเลเซียและอินโดนีเซียนำไม้จากป่าชายเลนโดยเฉพาะ
ไม้โกงกางมาทำเป็นเสาเข็มอย่างกว้างขวางสำหรับประเทศไทยชาวบ้านมักนำมาทำเป็นเสาเข็มหรือค้ำยัน กระชัง กั้นซู่ หลักสำหรับเลี้ยงหอย หรือใช้ทำเครื่องมือประมงต่างๆ
-ใช้ในการกลั่นไม้ การเผาถ่านไม้ป่าชายเลนนอกจากจะได้ถ่านที่มีคุณภาพแล้ว ยังมีผลิตพลอยได้ที่เป็นของเหลวและก๊าซ
อีกหลายชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจโดยผ่านการควบแน่นจะได้ของเหลวรวมกัน เรียกว่า"กรดไพโรลิคเนียส"อันประกอบด้วย
กรดน้ำส้มเมทธิลแอลกอฮอร์น้ำมันดินนับได้ว่าอุตสาหกรรมการกลั่นไม้มีแห่งเดียวในประเทศไทย คือ จังหวัดระนอง
-ใช้ทำชิ้นไม้สับ การนำไม้ป่าชายเลนมาเป็นชิ้นไม้สับนิยมทำการแพร่หลายในประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทย
การนำไม้ในปาชายเลนมาทำเป็นชิ้นไม้สับนับว่ามีปริมาณน้อยมาก
-ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ไม้ป่าชายเลนสามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับบ้าน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ซึ่งมีความสวยงามตามธรรมชาติโดยเฉพาะ
รากไม้ตะบูนขาวที่มีระบบรากสวยงามนำมาตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ได้สวยงาม ราคาแพง
-เป็นแหล่งของแทนนิน เปลือกไม้หลายชนิดยังเป็นแหล่งของแทนนินซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายย่าง เช่นทำหมึกทำสีทำกาวสำหรับ
ติดไม้ย้อมอวนและใช้ในการฟอกหนังพบว่าในเปลือกไม้โปรงมีปริมาณ
แทนนิน ประมาณ 46 % โดยน้ำหนักของเปลือกไม้ หรือพังกาหัวสุมมีประมาณ 41%
-ใช้เป็นยาสมุนไพร ผู้คนที่อาศัยใกล้ป่าชายเลนใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำพืชในป่าชายเลนมาใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ ซึ่งพบว่าไม้หลายชนิดที่สามารถมาทำเป็นยาได้

2. ด้านประมง ป่าชายเลนนับว่ามีบทบาทสำคัญมากในการรักษากำลังผลิตประมงชายฝั่งและประมงนอกฝั่ง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
-เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ สิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน ได้อาศัยอาหารจำพวกอินทรีย์สาร ซึ่งได้จากการย่อยสลายของซากพืช
เศษใบไม้ หรือส่วนต่างๆที่ร่วงหล่นมาจากต้นพืช เช่น ดอก กิ่ง ใบผลเมื่อส่วนต่างๆเหล่านี้ร่วงลงมาก็จะถูกย่อยสลายโดยเห็ด รา แบคทีเรีย โปรโตซัว
รวมไปถึงสัตว์จำพวกปูหอยและหนอนป้องอาหารที่ได้จากการย่อยมีปริมาณโปรตีนสูงเป็นอาหารคืนสู่ระบบนิเวศป่าชายเลนต่อไปนอกจากการย่อยสลาย
ของซากพืชจะเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของป่าชายเลนแล้ว พวกแพลงตอนพืชจำพวกไดอะตอมสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวและแพลงตอนสัตว์จำพวก
ลูกกุ้งและตัวอ่อนของสัตว์น้ำ ก็เป็นอาหารของสัตว์น้ำอื่นๆได้เช่นเดียวกัน
-เป็นที่อาศัยและอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ป่าชายเลนมีความสำคัญโดยเป็นที่อยุ่อาศัยและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจ
พบว่ามีสัตว์ทะเลหลายชนิดที่อาศัยป่าชายเลนเป็นแหล่งวางไข่ และอนุบาลวัยอ่อนเช่นสัตว์จำพวกกุ้งปลาต่างๆนอกจากนี้สัตว์อื่นที่อยู่ตามปากแม่น้ำ
และชายทะเล เมื่อวางไข่ในทะเลแล้วแตกเป็นตัวอ่อนตัวอ่อนก็จะเคลื่อนย้ายมาอาศัยป่าชายเลนเป็นแหล่งหากินและเจริญเติบโต พบว่าปริมาณของ
ไข่ปลาและตัวอ่อนของปลาขึ้นอยู่กับปริมาณกับความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน ซึ่งจะพบมากที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมพบปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจกว่า 30 ชนิด

ป่าชายเลนกับผลผลิตทางประมง

การจับสัตว์น้ำในช่วงปี 2521-2537มีปริมาณไม่ต่ำกว่าปีละล้านตันโดยเฉลี่ยและประมาณแสนล้านตันเป็นกุ้งต่างๆ เช่น กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลาดำ ปลาที่สำคัญ เช่น ปลากะพง ปลากระบอก ปลานวลจันทร์ทะเล ปลาหมอเทศส่วนปูที่สำคัญมีอยู่ชนิดเดียวคือปูทะเลสำหรับหอยมีหอยดำ หอยแครงหอยนางรมหอยจุ๊บแจง เป็นต้นในกลุ่มประเทศแถบเอเชียการเพาะเลี้ยงสัตว์ในบริเวณป่าชายเลน พบว่าส่วนมากทำในรูปแบบของฟาร์มกุ้งในประเทศไทยพบว่าแถบจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี จันทบุรีและนครศรีธรรมราช พบว่าในปี พ.ศ.2534ประเทศไทยมีฟาร์มกุ้งจำนวนมากถึง26,145แห่งครอบคลุมพื้นที่ 468,388 ไร่
ได้ผลิตกุ้งน้ำเค็มปริมาณมากถึง 256,940 ตัน

ที่มา :http://www.techno.bopp.go.th/virtual_trip/contents4.php

19 สิงหาคม 2554

น้ำแม่กวงทะลักท่วมบ้านเรือน




        ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตลอดเช้าวันนี้น้ำในแม่น้ำกวงล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน สวนผัก ผลไม้ใน จ.ลำพูน โดยเฉพาะใน ต.อุโมงค์ ต.มะเขือแจ้ ต.เวียงยอง และ ต.ต้นธง อ.เมือง ได้รับผลกระทบกว่า 30 ครัวเรือน ซึ่งทั้ง 4 ตำบล เป็นพื้นที่ลุ่มติดลำน้ำกวง หลังจากมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องตลอด 2 วัน และคืนที่ผ่านมาฝนตกตลอดคืน จึงทำให้ระดับน้ำในลำน้ำแม่กวงเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจนประชาชนต้องเร่งอพยพข้าวของขึ้นบนที่สูง ใช้เรือพายเข้าออกบ้าน ส่วนระดับน้ำบางแห่งท่วมสูงถึง 70 เซนติเมตรแล้ว

ล่าสุดเมื่อเวลา 14.00 น. ที่ สถานี P.81 บ้านโป่ง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ระดับน้ำกวง อยู่ที่ 6.05 เมตร ปริมาณน้ำ 113 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และสถานี P.5 สะพานท่านาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน ระดับน้ำกวง อยู่ที่ 4.74 เมตร ปริมาณน้ำ 134 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

นายชุมพร อินต๊ะเทพ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ โดยเฉพาะ จ.ลำพูนมีปริมาณฝนตกในพื้นที่ประมาณ 70 % ของพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในจังหวัดลำพูนโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยติดเชิงเขา และที่อาศัยติดลำน้ำ ทั้ง 3 สายหลักของจังหวัด ขอให้ระมัดระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ และเตรียมพร้อมเก็บข้าวของไว้ที่ปลอดภัยจากน้ำท่วม ในระยะ 1-2 วันนี้

ที่มา breakingnews

15 สิงหาคม 2554

ลงพื้นที่!! เพื่อมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ  ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พวกเราทั้ง 4 คน ได้ลงมือปฏิบัติงานเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นครั้งแรก และสถานที่ ที่เราเลือกไปนั่น ก็อยู่ในจังหวัดราชบุรีนี้ละคะ โดยขั้นตอนแรกเราสมทบทุนกับซื้อไม้กวาดอันใหม่ ส่วนการเลือกสถานที่นั้น พวกเราก็เลือกไปวัด วัดที่ค่อนข้างอยู่ใกล้พอที่เราสามารถเดินทางไปได้สะดวก และพวกเราก็ตกลงกันว่า จะไปกวาดใบไม้ที่ วัดเกาะนัมมทาปทวลัญชาราม อ.เมือง จ.ราชบุรี

  ~ มาถึงแล้วว !!! เวลาที่มาถึง ประมาณ 13.00 น.~ 

กลัวคนคิดว่ามาไม่จริง เลยต้องถ่ายรูปเพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าพวกเราไปถึงที่นั้นจริงๆ 5555 วัดเกาะเป็นวัดที่มีพื้นที่บริเวณกว้าง ร่มรื่นย์ เพราะมีต้นไม้เยอะ และสิ่งที่ร่วงหล่นมาจากตั้นไม้นี่แหละคือ สิ่งที่เราต้องช่วยจัดการ :) ถ้าพูดถึงท่านเจ้าอาวาส และ แม่ชีที่อยู่ในวัด ท่านให้ความเมตตาแก่พวกเราเป็นอย่างมากคะ


  ~นี่เป็นแค่บางส่วนของบริเวณเขตวัด ซึ่งกว้างมิใช่เล่น~

เมื่อเราได้เดินสำรวจตรวจตราดูแล้ว -0- พวกเราก็ลงมือปฏิบัติทันที โดยเลือกกวาดในส่วนที่ใบไม้เยอะกว่าบริเวณอื่นๆ ในเขตวัดไม่ค่อยมีขยะ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นใบไม้เสียมากกว่า 

~แบบภาพนิ่ง ~


~ แบบภาพเคลื่อนไหว ~


พวกเราใช้เวลาในการกวาดใบไม้ประมาณ ครึ่งชั่วโมง และเมื่อภารกิจรักษาสิ่งแวดล้อมเสร็จสิ้น ไม้กวาดที่เราซื้อมานั่น เราได้มอบให้เป็นของที่อยู่ภายใต้การดูและของวัดคะ :) 

- ประมวลภาพถ่าย -





สิ่งแวดล้อม คือ ธรรมชาติ เราเกิดมาจากธรรมชาติ ธรรมชาติให้ชีวิตแก่เรา เราเองก็ควรร่วมมือกันรักษาธรรมชาตินั้นเช่นกัน !! 

12 สิงหาคม 2554

บุกรุกป่าเกาะพยายามซ้ำรอยวังน้ำเขียว


การบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า ยังเกิดขึ้นอีกหลายแห่ง ล่าสุดครอบครัวข่าว 3 ได้รับเรื่องร้องเรียนว่ามีการบุกรุกป่าซึ่งมีต้นไม้อายุกว่า 100 ปี ที่เกาะพยาม จังหวัดระนอง เพื่อทำเป็นรีสอร์ท หลายฝ่ายจึงเกรงว่าจะเกิดกรณีเดียวกับกรณีวังน้ำเขียว








การเดินทางไปเกาะพยาม จังหวัดระนอง ต้องฝ่าคลื่นลมที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากอยู่ในช่วงมรสุมตลอดเดือนที่ผ่านมา หากเป็นเรือเล็กไม่สามารถแล่นเข้าไปได้ และต้องใช้เวลาเดินทางนานเกือบวัน จึงเป็นช่องว่างทำให้ทางการเข้าไปไม่ถึง แม้การเดินทางจะลำบาก แต่ปัจจุบันเกาะพยามเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และกำลังมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบนเกาะแห่งนี้



เมื่อเดินเข้าไปเพียงจุดแรก ก็ต้องพบกับต้นไม้ใหญ่ ที่ถูกโค่นล้ม แผ้วถาง เป็นบริเวณกว้าง โดยการโค่นต้นไม้ใช้เลื่อยโซ่ยนต์ ร่องรอยที่พบเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ อายุมากกว่า 100ปี เป็นไม้หายาก ถูกโค่นล้มมาประมาณ 1 เดือน ที่สำคัญพบการแบ่งพื้นที่เป็นแปลงย่อยๆ แปลงละ 50-100 ตารางวา เพื่อขายต่อทหารหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารราบที่ 25 จ.ระนอง ซึ่งเข้าไปตรวจสอบเบื้องต้นระบุว่า การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำรีสอร์ท หากทำในพื้นที่ป่าสงวนฯ ก็ถือว่าผิดกฎหมาย เพราะพื้นที่เกาะส่วนใหญ่ เป็นป่าสงวน ขณะที่ผู้มาบุกรุกตัดไม้ทำลายป่ากำลังตรวจสอบว่าเป็นบุคคลมีสี หรือเป็นนายทุน




พื้นที่เกาะพยาม ซึ่งขณะนี้มีบุคคลจากหลายพื้นที่เข้าไปอยู่อาศัย บางส่วนอาศัยมานานแล้ว แต่ไม่มีเอกสารการครอบครองที่ดิน มีเพียงเอกสาร สปก.เพื่อทำกินห้ามซื้อขาย แต่สภาพความเป็นจริงในปัจจุบันมีคนต่างถิ่นเข้าไปอยู่เพื่อทำธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งตรวจสอบ เพราะพื้นที่มีลักษณะซ้ำรอยที่วังน้ำเขียว

ที่มา

3 สิงหาคม 2554

"นกเตน"ทำสุโขทัยจมน้ำ ตากเตือนใต้เขื่อนให้ระวัง





จ.สุโขทัย สุดช้ำพิษพายุ "นกเตน" ไม่ทุเลาทำให้ ตลาดสวรรคโลกจมใต้บาดาล ขณะที่ จ.ตาก ประกาศเตือนพื้นที่ใต้เขื่อนระวังน้ำเชี่ยว หลังจากที่เขื่อนภูมิพลอั้นไม่ไหวต้องเร่งระบายน้ำทิ้ง...


ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 3 ส.ค.2554 ว่า ระดับน้ำในแม่ยมบริเวณ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ยังอยู่ในขั้นวิกฤตปริมาณน้ำยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องล่าสุด เมื่อเวลา02.00น. ระดับน้ำได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ตลาดสวรรคโลก จนพ่อค้าแม่ค้าต้องขนของหนีน้ำขึ้นมาขายบนหลังถนนทำให้การจราจรติดขัดถนนสาย สวรรคโลก – ศรีสำโรง บริเวณสี่แยกโรงพยาบาลถึงโรงเรียนสวรรอนันต์วิทยาระดับสูงถึง 1 เมตร รถสัญจรไปมาไม่ได้ ชาวบ้านหลายหมู่บ้านถูกตัดขาดจากโลกภายนอกไม่มีอาหารและน้ำดื่ม



ด้านทางเทศบาลเมืองสวรรคโลก ระดมเครื่องสูบน้ำและกระสอบทรายทำแนวกั้นน้ำริม แม่น้ำยม และระดับน้ำยังไหลเข้าท่วมพื้นที่ ต.ป่ากุมเกาะ ต.ย่านยาว ต.คลองกระจง ต.เมืองบางยม และต.ปากน้ำ ถนนหลายสายใช้การไม่ได้ชาวบ้านต้องใช้เรือท้องแบนในการเข้าออกหมู่บ้าน เพื่อมาหาซื้ออาหารน้ำดื่มและอุปกรณ์ในการยังชีพ และสระพานที่ใช้ข้ามได้เหลืออยู่ 3 แห่ง คือ สะพานพัฒนาท้องถิ่น สะพานสมเจตน์รมณ์ ต.ย่านยาว และสะพานคลองกระจง





ขณะที่ ผู้สื่อข่าวรายงานที่ จ.ตาก หลังจากที่เขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก ลดการระบายน้ำ เพราะหวั่นไปกระทบปริมาณน้ำในลุ่มเจ้าพระยา ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมากกว่าปีที่แล้วในวันเวลาเดียวกันกว่า 4,500 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งฤดูฝนยังยาวอีกหลายเดือน แต่เขื่อนภูมิพลมีน้ำกักเก็บแล้วกว่า 64% ของความจุอ่าง จึงต้องเริ่มมีการระบายน้ำเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากทางภาคเหนือตอนบนมีภาวะน้ำท่วมหลายจังหวัด เนื่องจากน้ำทั้งหมดจะไหลลงสู่เขื่อนภูมิพลเป็นหลัก หากไม่ระบายออกอาจจะสร้างความยุ่งยากหากน้ำเต็มอ่าง

ขณะนี้ เขื่อนภูมิพลมีน้ำกักเก็บทั้งสิ้น 8,621 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 64.04% ของความจุอ่าง โดยวันนี้เขื่อนภูมิพลระบายน้ำลงสู่แม่น้ำปิง 25 ล้านลูกบาศก์เมตร จากที่เคยระบายวันละ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละประมาณ 77 ล้านลูกบาศก์เมตร และจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นขอเตือนประชาชนที่อยู่ท้ายเขื่อนโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยริมตลิ่งแม่น้ำ ปิงทั้งสองฝั่ง โปรดระวังเนื่องจากกระแสน้ำมีความเชี่ยวและมีระดับสูงอาจจะเป็นอันตรายกับ เด็กและผู้ที่ประกอบอาชีพอยู่ริมแม่น้ำปิง